#ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ #PCOS
#ประจำเดือนมาทุกเดือนทำไมไม่ท้องสักที !?
#ประจำเดือนขาดก็ไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์อย่างเดียวนะ!?
ปัญหาใกล้ตัวผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม
วันนี้มาทำความรู้จักภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
หรือชื่อภาษาอังกฤษยาวๆว่า polycystic ovarian syndrome หรือ #PCOS นั่นเอง
เป็นโรคที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ 10 ของสตรีไทย
เป็นโรคที่มีความซับซ้อน เข้าใจยาก
บอกคนไข้ทีไรคนไข้ก็จะงงๆตลอด
วันนี้ หมอโอ อ.พญ. อรวิน วัลลิภากร มีคำตอบมาฝากกันค่ะ
สาเหตุ ปัจจุบันมีการศึกษาพบแล้วภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม
หรือการทำงานที่ผิดปกติของแสดงออกยีนในเซลล์ของรังไข่เองเป็นหลัก
ร่วมกับปัจจัยทางเชื้อชาติ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหรือหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน เช่น ภาวะอ้วน เป็นต้น
อาการ “ประจำเดือนขาด ไม่ตั้งครรภ์ อ้วน หน้ามัน ขนดก”
1. ไข่ไม่ตกหรือเซลล์ไข่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ โตช้า หรือไม่สมบูรณ์
ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และนำมาสู่ภาวะมีบุตรยากจากไข่ไม่ตกนั่นเอง
เมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติ นื่ 1 เดือนจะมีไข่โตเดือนละ 1 ฟอง
โดยจะมีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 2 เซ็นติเมตรและตกช่วงกลางรอบเดือน
รอการปฏิสนธิหากมีเพศสัมพันธ์ ในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจะมีไข่แย่งกันเจริญเติบโตที่ละหลายๆฟอง
เมื่ออัลตราซาวน์จะเห็นเซลล์ไข่แย่งกันโตทีละสิบสิบฟองต่อรอบ
แต่ไม่เจริญเติบโตและไม่ตกตามปกติ ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน
แต่ที่ร้ายกว่านั้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่ปกติต้องหลุดลอกออกมาทุกเดือน
แต่ค้างอยู่ในโพรงมดลูกเนื่องจากไข่ไม่ตกในคนไข้
จะส่งผลให้มีเลือดออกผิดปกติ กระปริบกระปรอย หรือมีประจำเดือนออกเยอะๆทุก 2-3 เดือนได้
อย่างไรก็ตามการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกดังกล่าวจะไม่สมบูรณ์
หมายถึงจะมีเซลล์บางส่วนหลงเหลืออยู่ ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ (น่ากลัวมาก)
2. มีความผิดปกติของระดับหรือการทำงาน ของ ฮอร์โมนเพศชาย
ทำให้มีอาการแสดงออก คือ หน้ามัน สิวขึ้นง่าย ขนดก เป็นต้น
จากการที่เซลล์ไข่ที่เจริญเติบโตมีหลายฟอง
เปลือกไข่ที่เจริญเติบโตมากมายหลายใบนั้นจะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย
ทำให้เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีปกติ ผู้ที่เป็นโรคจะมีฮอร์โมนเพศชายเกิน
ทำให้หน้าไม่ใส หมองคล้ำ มีสิว มีหนวดเคราและขนขึ้นตามแขนขา
ผมมันและร่วงเป็นหย่อมๆได้
แต่ที่ร้ายกว่านั้นฮอร์โมนเพศชายที่มากเกินไปจะส่งผลให้อ้วนลงพุง
มีพุงง่ายกว่าปกติ ระดับไขมันในเลือดสูงได้ ซึ่งมีความอันตรายมากกว่าแค่ไม่สวยนะคะ
3. มีความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย
ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
ซึ่งบ้างก็ว่าความผิดปกติของยีนดังกล่าวเป็นเหตุมากกว่าเป็นผลของภาวะนี้ค่ะ
เพราะฉะนั้นหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน
ต้องยิ่งเฝ้าระวังภาวะนี้มากยิ่งขึ้นปอีกค่า
การตรวจวินิจฉัย
การวิจนิจฉัยส่วนมากขึ้นกับประวัติและอาการแสดงดังกล่าวข้างต้นเป็นหลัก
เมื่อเข้ามาพบคุณหมออาจต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
ได้แก่ เจาะเลือดเพื่อแยกโรคจากภาวะอื่นๆที่มีอาการคล้ายๆกันหรือทำให้ไข่ไม่ตกได้
เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ฮอร์โมนน้ำนมผิดปกติ
ร่วมกับการตรวจยืนยันดูภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
โดยการอัลตราซาวน์ ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งทางหน้าท้องและช่องคลอด
การดูแลรักษา
- ลดน้ำหนัก ให้อยู่เกณฑ์สมส่วน ช่วยลดความผิดปกติที่เกิดจากฮอร์โมนเพศที่สร้างจากเซลล์ไขมัน ช่วยให้การทำงานของรังไข่ดีขึ้น โดยมีรายงานการศึกษาวิจัยทางการแพทย์พบว่าการลดน้ำหนักลงเพียงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวก็ทำให้การทำงานของรังไข่กลับมาปกติได้ถึงร้อยละ 50
- ออกกำลังการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้การเผาผลาญพลังงานดีขึ้น รวมถึงการทำงานของรังไข่ดีขึ้นด้วยค่ะ
- สำหรับสตรีที่ไม่ต้องการมีบุตร แนะนำพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับฮอร์โมนปรับให้มีการหลุดลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยอาจรับยาปรับประจำเดือน หรือยาคุมกำเนิดตามความเหมาะสม
- สำหรับสตรีที่ต้องการมีบุตร แนะนำพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับยากระตุ้นไข่รูปแบบรับประทานหรือรูปแบบฉีดอย่างเหมาะสม
- อาหารเสริมหรือยาอื่นๆ
- ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะดื้ออินซูลินแล้วมีรายงานว่าการรับยาในกลุ่มรักษาเบาหวาน จะช่วยให้การเผาผลาญน้ำตาลดีขึ้น ไขมันในเลือดลดลง ลดความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานในอนาคตได้
- ในสตรีที่มีบุตรยาก พบว่าการเสริม inositol หรือวิตามินบี 9 Co-enzyme Q-10 ช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ เพิ่มโอกาศการตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยงแท้งบุตรได้
อย่างไรก็ตาม #ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ #PCOS
ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลและติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง
ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง หรือขาดการรักษา
เนื่องจากส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวของสาวๆแน่ๆค่ะ
หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
มักก่อให้เกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และเบาหวานในช่วงอายุ 35-40 ปีได้ค่า
บทความจาก อ.พญ. อรวิน วัลลิภากร
อาจารย์สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การเจริญพันธ์
ประจำภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
และ co-founder อันดาวินคลินิก
ได้มีโอกาศอันดีร่วมพูดคุยและตอบคำถามกับคุณเฟิร์น YouTuber ชื่อดังจากช่อง @108life มาฟังกันได้เลยค่า
#andawinclinic #อรวินวัลลิภากร #สิวฮอร์โมน #ประจำเดือนขาด #ไข่ไม่ตก #ดื้ออินซูลิน #108life