#ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ปัญหาที่ถูกมองข้ามไป
จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบภาวะนี้สูง ถึง 1 ใน 7 ของสตรีตั้งครรภ์เลยทีเดียว ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงคลอดบุตรก่อนกำหนด ทารกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย ระยะเวลาให้นมแม่สั้นลง มีผลต่อสุขภาวะจิตใจของเด็กในระยะยาว
ผู้ป่วยมักมีอาการ ซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย เบื่อหน่าย รู้สึกตนเองไม่มีค่า ส่งผลต่อการกินการนอนที่ผิดปกติไป อาการมักคงอยู่เกิน 2 สัปดาห์
แยกอย่างไรจากภาวะ #babyblue หรือ #mamablue ซึ่งพบได้ตามปกติของคุณแม่หลังคลอด มีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด ร้องไห้ง่าย อารมณ์แปรปรอน มักหายไปหรือดีขึ้นภายใน 10 วันหลังคลอด
เพื่อ #ป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
มีคำแนะนำให้คัดกรองคุณแม่ที่มีความเสี่ยงทุกราย ได้แก่
- มารดาที่มีประวัติเคยป่วยโรคซึมเศร้ามาก่อนหน้านี้
- มารดามีประวัติเคยถูกทำร้ายร่างกาย (abuse)
- มารดาที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน หรือไม่ต้องการ
- มารดาที่ขาดการสนับสนุนจากครอบครัว เช่น มารดาเลี้ยงเดี่ยว ฐานะยากจน แม่วัยรุ่น
- มารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และคลอด เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์
รู้อย่างนี้คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากไม่แน่ใจ สงสัย สามารถสอบถามคุณหมอได้เลยนะคะ
#ด้วยความรักและห่วงใย #happyvalentineday